ดนตรีช่วยให้การผ่าตัดง่ายขึ้น ให้ผลลัพธ์ดีกับคุณหมอ คนไข้
October 8, 2021ดนตรีถือว่าเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่เข้ามาช่วยเยียวยาจิตใจของคนได้ทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ มีความรัก หรือกำลังอกหักก็ตาม ซึ่งหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่คงจะเคยเห็นภาพการผ่าตัดของแพทย์ที่มักจะเปิดเพลงเบา ๆ คลออยู่ข้าง ๆ ในช่วงเวลาของการผ่าตัด และนั่นก็ไม่ใช่ภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในละคร แต่มันเป็นภาพและเป็นเทคนิคจริงของแพทย์หลายท่าน
ดนตรีช่วยสร้างสมาธิ และจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้มากขึ้น
ในสภาวะที่โลกมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบนี้ คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นั่นจะทำให้คนสะสมความเครียดได้ และแต่ละคนก็มีวิธีการจัดการกับความเครียดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเรื่องนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่สักเท่าไหร่ สำหรับการใช้ดนตรีบำบัด (music therapy) ที่เป็นกิจกรรมทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลงหรือการเล่นดนตรี การร้องเพลง แต่งเพลง ล้วนแล้วแต่ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาได้ดี
ใช้เพื่อสร้างสมาธิ ลดความตึงเครียด และลดความกังวลลงได้ ช่วยให้ระดับ cortisol ที่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดลดลงได้ดีมากกว่าการใช้ยาด้วยซ้ำ นอกจากนี้การฟังดนตรีที่ชอบนอกจากจะช่วยสร้างความสุขและความสบายใจได้ดีแล้ว มันยังช่วยลดเรื่องของอาการแวกวอก ทำให้จดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้ดีขึ้นด้วย คงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมคุณหมอหลาย ๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นหมอทำฟัน หมอผ่าตัดเล็ก ผ่าตัดใหญ่ จึงต้องเปิดเพลงหรือดนตรีที่ชอบคลอไปเรื่อย ๆ ระหว่างการทำงาน

ดนตรีช่วยสร้างสมาธิ และจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้มากขึ้น
ดนตรีช่วยให้คุณแม่ผ่าคลอด เกิดความรู้สึกสบายใจขึ้น
ที่สำคัญนอกจากดนตรีจะช่วยในเรื่องการสร้างสมาธิให้คุณหมอได้แล้ว จากผลการวิจัยยังพบอีกว่า ดนตรียังช่วยให้คุณแม่ผ่าคลอด เกิดความรู้สึกที่สบายใจได้อีกด้วย โดยประเด็นนี้อ้างอิงมาจากบทความแปลของ ศ.ดร. มาลินี เหล่าไพบูลย์ ภาควิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่พบว่า ในระหว่างการผ่าท้องหรือผ่าคลอด (ผ่าหนังท้องเพื่อเอาเด็กออกมาจากมดลูกของมารดา) ที่ต้องอาศัยการใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะบริเวณที่จะทำการผ่า มักจะทำให้คุณแม่เกิดความวิตกกังวลในระหว่างการผ่าตัดเป็นอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ดี คือการฟังดนตรีในระหว่างการผ่าท้องคลอด โดยสิ่งนี้จะช่วยให้ชีพจรและความพึงพอใจของการทำคลอดดีขึ้น
นอกจากนี้ยังงานวิจัยอื่นอ้างอิง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดแล้วฟังดนตรี จะช่วยลดความเครียดและลดความวิตกกังวลได้ หรือแม้แต่การเล่นเปียโนควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพาตแขนซีกซ้ายหรือขวาเพียงซีกเดียว สามารถเคลื่อนไหวร่างกายชนิดที่ต้องอาศัยทักษะได้อย่างละเอียด และทำได้ดีกว่าผู้ที่ทำกายภาพบำบัดเพียงแค่ทางเดียวด้วย

ดนตรีช่วยให้คุณแม่ผ่าคลอด เกิดความรู้สึกสบายใจขึ้น
นอกจากนี้ยังพบผลการวิจัยว่าการฟังดนตรีช่วยลดอาการปวดแบบเรื้อรัง ได้มากถึงร้อยละ 21 และลดภาวะซึมเศร้าของคนได้ถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้อารมณ์สงบ และยังช่วยบำบัดอาการนอนไม่หลับได้ดีอีกด้วยค่ะ และความพิเศษของดนตรีก็ไม่ได้จบลงเพียงแค่ตรงนี้ เพราะดนตรียังช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ เช่น เพิ่มความมั่นใจ การแสดงออก ช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาด้านการพูด ฝึกควบคุมอารมณ์ ช่วยสร้างจินตาการ และประโยชน์อีกนานาประการ
ดนตรีไม่ได้ช่วยเหลือแค่คนมีปัญหา แต่คนปกติก็ฟังดนตรีได้
จริงอยู่ที่ว่าดนตรีช่วยบำบัดจิตใจ แต่ก็ใช่ว่าคนปกติอย่างเรา ๆ จะฟังดนตรีไม่ได้ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงดนตรีเพื่อสร้างความเพลิดเพลินใจ เพื่อการผ่อนคลายความเหนื่อยจากการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ผ่านการเลือกดนตรีที่ชอบจากรสนิยมของตัวเอง ถือเป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ดีที่สุด (รวมถึงตัวคนที่เข้ารับการผ่าตัดและคนที่กำลังบำบัดอยู่ด้วย)
เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจ ไม่เพียงแต่คนที่มีปัญหาแล้วเท่านั้นถึงจะต้องรับการเยียวยาจากดนตรี แต่คนปกติทุกคนควรจะมีความสุขและความเพลิดเพลินในทุก ๆ วันด้วยดนตรีเช่นกัน นอกจากนี้การเลือกทำประกันสุขภาพเพื่อช่วยคุ้มครองชีวิตก่อนจะสายไป ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการมีไว้ในชีวิตเหมือนกัน